สาขาวิชาวิจิตรศิลป์

ความรู้ คู่ทักษะ

หลักสูตรที่เปิดสอน
- หลักสูตร ปวช. ประเภทวิชาศิลปกรรม สาขาวิชาวิจิตรศิลป์ (รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3)

รายละเอียดสาขาวิชา
สาขาวิชาวิจิตรศิลป์ มีการจัดการเรียนการสอน ผ่านการ วางแผน ดำเนินงานตามหลักการและกระบวนการ โดยคำนึงถึงการบริหารงานคุณภาพ การอนุรักษ์พลังงาน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม หลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัยและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ปฏิบัติงานพื้นฐานอาชีพคหกรรมศาสตร์ตามหลักการและกระบวนการ เลือกใช้และบำรุงรักษาเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ในงานอาชีพตามหลักการและกระบวนการ โดยคำนึงถึงความประหยัดและความปลอดภัย ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ เพื่อพัฒนาและสนับสนุนงานอาชีพ วาดภาพ ระบายสี รูปร่าง รูปทรง มนุษย์ สัตว์ พืชและผลิตภัณฑ์ของใช้ ปฏิบัติงานวิจิตรศิลป์ มีทักษะด้านจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์สื่อผสมรูปแบบไทยและสากล พัฒนาตนเองให้มีบุคลิกภาพที่ดีมีจรรยาบรรณในวิชาชีพปรับตัวเข้ากับสังคมโลกาภิวัฒน์ อย่างมีความสุข รวมถึงประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานวิจิตรศิลป์ ให้ทันสมัย

ตัวอย่างบางส่วนรายวิชาที่ศึกษา
- วาดเขียนหุ่นนิ่ง
- วาดเขียนทิวทัศน์
- จิตรกรรมสีน้ำหุ่นนิ่ง
- จิตรกรรมทิวทัศน์
- ประติมากรรมพื้นฐาน
- ประติมากรรมลอยตัว
- ภาพพิมพ์พื้นฐาน
- ภาพพิมพ์แกะไม้
- เทคนิคองค์ประกอบศิลป์
- เทคโนโลยีเพื่องานศิลปะ
- กายวิภาค
- อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์วิจิตรศิลป์

อาชีพที่รองรับหลังจบการศึกษา
- ช่างศิลป์ในหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน
- ศิลปินและนักออกแบบ
- ช่างเขียนลวดลาย
- ช่างผลิตของที่ระลึก
- ช่างเขียนภาพคนเหมือน – วิวทิวทัศน์
- ช่างพิมพ์
- ช่างสกรีน
- อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจิตรศิลป์



คณะครูผู้สอน วิจิตรศิลป์


นายพิเชษฐ์ ศรีสุพรรณ

ครู (คศ.1) แผนกวิชาวิจิตรศิลป์

นายวรปรัชญ์ ปะถานะ

ครูผู้ช่วย แผนกวิชาวิจิตรศิลป์

หน้าที่และความรับผิดชอบครูผู้สอน

1. การจัดทำแผนการจัดการเรียนการสอน ตารางเรียน ตารางสอน บัญชีวิชาเลือก จัดตารางสอนรวมและตารางส่วนบุคคลของแผนกวิชา
2. ควบคุมดูแล ส่งเสริม กำกับ ติดตามการจัดการเรียนการสอน แก้ปัญหาเกี่ยวกับการเรียนการสอน การฝึกงาน การวัดผลประเมินผล และการวิจัยในแผนกวิชาให้เป็นไปตามหลักสูตรและระเบียบแบบแผนของทางราชการ
3. วางแผนและดำเนินงานด้านมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษาของแผนกวิชา เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาอย่างต่อเนื่องและรองรับการประเมินคุณภาพภายนอกได้
4. จัดหาดูแลรักษาวัสดุ ครุภัณฑ์ อุปกรณ์ เครื่องจักร เครื่องมือของแผนกวิชาให้ใช้งานได้เป็นปกติ และมีเพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอน
5. สนับสนุนการพัฒนาการเรียนการสอน นวัตกรรม เทคโนโลยี และสิ่งประดิษฐ์ การใช้อุปกรณ์การเรียนการสอน การเขียนตำรา เอกสาร และใบช่วยสอนต่าง ๆ
6. ติดตามและแนะนำเกี่ยวกับการทำโครงการฝึก โครงการสอน แผนการเรียนรู้ คู่มือครู ใบงาน ตลอดจนแฟ้มสะสมงาน โดยบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้สอดคล้องกับหลักสูตรและแผนการจัดการเรียนการสอน
7. ควบคุมการใช้วัสดุการศึกษา และลงทะเบียนผลิตผลของแผนกวิชาให้เป็นไปตามใบงาน
8. ควบคุมดูแลและพัฒนาสำนักงาน ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ ให้สะอาดเรียบร้อยทันสมัยอยู่เสมอ
9. ปกครองดูแลบุคลากรในแผนกวิชาให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการ และเสนอความดีความชอบของบุคลากรในแผนกวิชา
10. ประสานงานและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา
11. จัดทำปฏิทินการปฏิบัติงาน เสนอโครงการและรายงานการปฏิบัติงานตามลำดับขั้น
12. ดูแล บำรุงรักษา และรับผิดชอบทรัพย์สินของสถานศึกษาที่ได้รับมอบหมาย
13. ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย